วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556


การตัดต่อวีดีโอ
   โปรแกรม Free Video Dub เป็นอีกโปรแกรมย่อยที่อยู่ใน โปรแกรมใหญ่ DVDVideoSoft เพราะทั้งโปรแกรมเค้าเล่น pack โปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ให้ใช้งานถึง 48 โปรแกรม ซึ่งดิฉันเองเคยนำมาเขียนบทความไปหลายบทความ  เพราะใช้งานผลิตภัณฑ์เค้าอยู่  นอกจากฟรีแวร์แล้ว ยังมีให้เลือกหลากหลาย  จึงเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ยังคงมีติดไว้ในเครื่องเสมอ  เช่นนำมา Download จาก Youtube เป็น mp3 ทั้ง Playlists ,นำมาแปลงไฟล์ Video เป็นรูปภาพ Jpgและอื่่น ๆอีกมากมาย วันนี้จึงหยิบอีกหนึ่งโปรแกรมย่อยที่อยู่ใน DVDVideo soft มาเล่าต่อ  ก็คือโปรแกรม Free Video Dub ใช้สำหรับการตัดต่อวีดีโอ สำหรับมือใหม่หัดเรียนรู้การใช้งานโปแกรมสำหรับตัดวีดีโอ
  
รุปที่ 1 หน้าต่างโปรแกรม Free video dub สำหรับตัดวีดีโอ
1. หลังดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม เสร็จเรียบร้อย  คลิ๊กที่ Start > All Programs > DVDVideoSoft > Programs > Free Video Dub หรือดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอน  DVDVideoSoft Free Studio
รุปที่ การตั้งค่า Video input และ Video output
2. คลิ๊กที่ด้านซ้าย “ ……” Input file : เพื่อเพิ่มไฟล์วีดีโอที่ต้องการนำมาตัดจากคอมพิวเตอร์  วีดีโอที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรม Free video Dub เพื่อใช้ในการตัดต่อคือโปรแกรมนามสกุล *.avi, *.mpg, *.mp4, *.mkv, *.flv, *.3gp, *.webm, *.wmv.
3. คลิ๊กที่  "..."  ที่อยู่ด้านขวา Output file :  เลือกโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บไฟล์วีดีโอที่ตัดเสร็จแล้ว  ซึ่งเป็นโฟลเดอร์ที่เราต้องการบันทึกไว้

รุปที่ การเลือกบริเวณที่ต้องการตัดออกจากวีดีโอ
4. เริ่มทำการตัดต่อที่เมนุแถบล่างของโปรแกรม  จะมีไอคอนเป็นกรรไกรอยู่ ซ้ายและขวา   ให้เลื่อนเคอร์เซอร์ ลากบริเวณที่ต้องการตัดออก  ต่อจากนั้นคลิ๊กที่กรรไกรด้านซ้ายเพื่อเลือกส่วนที่ตั้องการตัดออก ด้านซ้ายออกไป  คลิีกไอคอนกรรไกรด้านขวา เมื่อต้องการเลือกส่วนที่ต้องการตัดออกในด้านขวา   ต่อจากนั้นกดไอคอน กากกบาท เพื่อทำการลบส่วนที่ไม่ต้องการออก   เหลือไว้เฉพาะบริเวณในแถบสีีฟ้า  นั่นคือส่วนที่ต้องการใช้งาน
5. หากตัดส่วนที่ไม่ต้องการผิดพลาด สามารถแก้ไขได้ที่ไอคอน Undo และ Redo คลิีก Play

รูปที่ ไอคอนสำหรับเล่นวีดีโอในโปรแกรม Free video dub









วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว





ประวัติส่วนตัว

                   ชื่อ   ด . ญ . ปิยมน       สุขใจ           ชื่อเล่น    ปราย

           เกิดวันที่  13  กรกฎาคม    2543
    
           อยู่บ้านเลขที่   81/74  หมู่  5   ต. บางกุ้ง     อ.  เมือง     จ.   สุราษฎร์ธานี

           สีที่ชอบ     สีฟ้า

          อาหารที่ชอบ    ก๋วยเตี๋ยว

          กีฬาที่ชอบ   วิ่ง

         สัตว์เลี้ยงที่ชอบ    สุนัข

          เพื่อนสนิท    ด.ญ.พฤกษา   สืบศักดิ์      ด.ญ.สิรินดา       ทองเดิม
   
         

กีฬาวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอลสนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง ลูกวอลเลย์บอล


          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย2.24 เมตร





วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬาปิงปอง


กีฬาปิงปอง
 
           เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียงปิก-ป๊อกดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่าปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
        วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่าจับแบบยุโรปและการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า จับไม้แบบจีนนั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK) และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง
     ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
  1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
  2. ไม้ต้องติดยางเม็ด
  3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็นยุคของยุโรปอีกเช่นเคย
ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
  1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
  2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง 

                                                           
ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดย
อาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบรุกอย่างต่อเนื่องซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษา